การจดทะเบียนธุรกิจ มีกี่ประเภท และจดทะเบียนอย่างไร
การจดทะเบียนบริษัทเป็นหมุดหมายสำคัญอย่างแรกๆของธุรกิจ นอกจากจะเป็นการแจ้งเกิดธุรกิจของเราให้มีตัวตนอย่างเป็นทางการแล้ว การจดทะเบียนธุรกิจยังเป็นการทำตามกฎหมายอย่างถูกต้อง, เพิ่มความน่าเชื่อถือในระยะยาว, บังคับให้เรามีระบบในการทำธุรกิจ, และยังเป็นการแยกตัวธุรกิจเป็น “นิติบุคคล” อีกคนหนึ่งออกจากเจ้าข
การจดทะเบียนบริษัทเป็นหมุดหมายสำคัญอย่างแรกๆของธุรกิจ นอกจากจะเป็นการแจ้งเกิดธุรกิจของเราให้มีตัวตนอย่างเป็นทางการแล้ว การจดทะเบียนธุรกิจยังเป็นการทำตามกฎหมายอย่างถูกต้อง, เพิ่มความน่าเชื่อถือในระยะยาว, บังคับให้เรามีระบบในการทำธุรกิจ, และยังเป็นการแยกตัวธุรกิจเป็น “นิติบุคคล” อีกคนหนึ่งออกจากเจ้าของธุรกิจ ซึ่งจะช่วยจำกัดความเสี่ยงจากหนี้สินของธุรกิจ ไม่ให้มาไล่เบี้ยจากเจ้าของธุรกิจได้อีกด้วย
ในบทความนี้ เราจะมาหาความรู้เรื่องการจดทะเบียนธุรกิจกันตั้งแต่ ประเภทการจดทะเบียน, ขั้นตอนการจด, และภาระหน้าที่ที่เกิดขึ้นจากการจดบริษัท
การจดทะเบียนธุรกิจแบ่งออกเป็น 1) การจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดา และ 2) การจดทะเบียนบริษัทสำหรับนิติบุคคล มีรายละเอียดดังนี้
ผู้ที่เข้าข่ายจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่
– บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล ที่ค้าขายออนไลน์ หรือเป็นตัวแทนขาย ผ่าน website, ระบบร้านค้าออนไลน์, Facebook
– บุคคลธรรมดา ที่มีอาชีพค้าขาย และมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง
ทั้งนี้ การจดทะเบียนพาณิชย์เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีเจ้าของทำงานเพียงคนเดียว ขายสินค้าหรือบริการง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ข้อดีของการจดแบบนี้ คือ ผู้ประกอบการจะไม่มีภาระในการทำบัญชีหรือยื่นส่งงบ และมีอิสระในการดำเนินธุรกิจอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอาจขาดความน่าเชื่อถือในระยะยาว หาพนักงานยาก ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคาร รวมไปถึงยังทำให้เจ้าของธุรกิจต้องมีภาระหน้าที่ทางกฎหมาย ในการรับภาระหนี้สินของธุรกิจแบบไม่จำกัด
จะเหมาะสำหรับธุรกิจที่เติบโตขึ้นมาระดับหนึ่ง หรือมีเจ้าของ/ผู้ลงทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยการจดทะเบียนบริษัทจะทำให้มี “บริษัท” มีสถานะเป็น “นิติบุคคล” ที่มีตัวตนตามกฎหมาย แยกต่างหากจากเจ้าของธุรกิจ เจ้าของบริษัทจึงเป็นอิสระจากการไล่เบี้ยหนี้สินของบริษัท(เจ้าของธุรกิจมีภาระการชำระค่าหุ้นให้ครบตามทุนที่จดทะเบียนบริษัทไว้เท่านั้น) อย่างไรก็ตาม บริษัทจะมีภาระหน้าที่แยกต่างหากจากเจ้าของ โดยบริษัทต้องจัดทำบัญชี, เสียภาษี, ยื่นประกันสังคมให้พนักงาน เป็นต้น
แม้การมีภาระหน้าที่ดังกล่าว จะทำให้ผู้ประกอยการรู้สึกยุ่งยาก แต่ข้อดีคือ อัตราภาษีเงินได้ของนิติบุคคลจะไม่เกิน 20% ของรายได้หักค่าใช้จ่าย (ซึ่งน้อยกว่าอัตราภาษีของบุคคลธรรมดาทีสูงสุดที่ 35%) ทั้งนี้ การจดทะเบียนนิติบุคคลสามารถทำได้ 3 แบบ ดังนี้
การทำกิจการแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนั้น ใช้กับผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิจัดการกับกิจการ และแบ่งปันกำไรจากกิจการได้ แต่ก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของกิจการอย่างไม่จำกัด ทั้งนี้ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียน จะมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา
แต่หากจดทะเบียน จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลที่เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” โดยหุ้นส่วนทุกคนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สินของกิจการ แบบ “ไม่จำกัดจำนวน” แต่อาจตกลงให้หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนได้
ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และต้องทำการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยความรับผิดชอบของหุ้นส่วน จะแบ่งเป็นแบบ “จำกัด” และแบบ “ไม่จำกัด” ความรับผิดในหนี้สินของกิจการ
– หุ้นส่วนผู้รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “จำกัด”: จะรับผิดในหนี้สินกิจการไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตน แต่หุ้นส่วนประเภทนี้ จะไม่มีสิทธิตัดสินใจในกิจการ แต่มีสิทธิที่จะสอบถามการดำเนินงานของกิจการได้
– หุ้นส่วนผู้รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัด”: จะรับผิดในหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกิจการ โดยจะมีสิทธิตัดสินใจต่างๆ ในกิจการได้อย่างเต็มที่
ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และต้องจดทะเบียนนิติบุคคล โดยผู้ถือหุ้นทุกคนจะรับผิดชอบในหนี้สินกิจการแบบ “จำกัด” กล่าวคือ ผู้ถือหุ้นมีภาระเพียงแค่จะต้องชำระเงินทุนตามค่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น หากชำระครบแล้ว ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นในกิจการอีก ด้วยการจำกัดความรับผิดนี่เองที่ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมจดทะเบียนแบบบริษัทจำกัด ทั้งนี้ การจดทะเบียนเป็นบริษัทนั้นส่งผลดี ทั้งต่อความน่าเชื่อถือ, การสร้างระบบการบริหาร, การมีระบบบัญชี และเอื้อต่อการระดมทุน รวมทั้งขอสินเชื่อจากธนาคารมากกว่าการจดทะเบียนแบบอื่น
ในการจดทะเบียนบริษัท ต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเยอะพอสมควร เพื่อตัดปัญหาความยุ่งยาก โดยทั่วไป ผู้ประกอบการจะจ้างสำนักงานบัญชีให้ช่วยดำเนินการจดทะเบียนบริษัทให้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการก็ควรจะรู้ขั้นตอนสำคัญๆไว้ ดังนี้
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดบริการให้เราสามารถเข้าไปตรวจชื่อและจองชื่อบริษัทผ่านทาง internet ได้ทางลิงค์ ตรวจและจองชื่อบริษัท โดยเราสามารถจองชื่อได้ถึง 3 ชื่อ แต่มีเงื่อนไขว่า ชื่อที่จองจะต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว
บริษัทต้องจัดเตรียมหนังสือบริคณห์สนธิ (ข้อมูลสำคัญการจัดตั้งบริษัท) ไปจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วัน นับจากวันที่นายทะเบียนรับรองชื่อบริษัท ทั้งนี้ ข้อมูลในหนังสือบริคณห์สนธิ ประกอบด้วย
หลังจากจองชื่อและจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว นายทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะดำเนินการตรวจเอกสาร หลังจากนั้น ให้เราเตรียมไปจดทะเบียนบริษัทได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้
หมายเหตุ: ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ ยกเว้นสำเนาบัตรประชาชน ที่ต้องให้เจ้าของบัตรลงนามรับรองเอง
ทั้งนี้ เมื่อจดทะเบียนเสร็จแล้ว นายทะเบียนจะมอบ “หนังสือรับรองบริษัท” เป็นหลักฐานการจดทะเบียนบริษัท อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
จดทะเบียนบริษัทเสร็จแล้ว ตัวบริษัทจะมีภาระหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้
ติดตามความรู้ของ PEAK ที่
Blog: http://blog.peakaccount.com
Facebook: facebook.com/peakengine/